วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กติกา และการเล่นรักบี้ฟุตบอล

กติกาการเล่นรักบี้

สนาม ( The Ground )

ก. สนามการเล่นไม่เกิน 100 เมตร กว้างไม่เกิน 70 เมตร ในเขตประตูยาวไม่เกิน 22 เมตร
ข. ความยาวและความกว้างของพื้นที่การเล่นดูได้จากแผนภูมิและต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ค. พื้นที่ระหว่างเส้นประตูกับเส้นลูกตายต้องไม่น้อยกว่า 10 เมตร
     เส้นสนาม
ก. เส้นทึบ ประกอบด้วย เส้นประตู เส้น 22 เมตร เส้นกึ่งกลางสนาม เส้นข้างสนาม
ข. เส้นประ ประกอบด้วย เส้น 10 เมตร เส้น 5 เมตร
     รูปแบบของเสาและประตูและคาน
ก. เสาประตู กว้าง 5.6 เมตร
ข. คานถูกวางไว้ระหว่างเสาทั้งสองอยู่เหนือพื้น 3 เมตร
ค. ความสูงของเสาอย่างน้อย 3.4 เมตร จากคานขึ้นไป
ง. เบาะหุ้มเสาเมื่อติดกับเสาประตูแล้วต้องมีความหนาไม่เกิน 300 มิลลิเมตร



บอล ( The Ball )

รูปร่าง ของลูกบอลต้องเป็นรูปไข่ และทำดัวยวัตถุ 4 ชิ้นประกอบกัน
ขนาด ความยาว 280-300 มม. เส้นรอบวง (ด้านยาว) 760-790 มม. เส้นรอบวง (ด้านกว้าง) 580-620 มม.
วัสดุ เป็นหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะที่คล้ายหนังไม่ติดโคลนและง่ายต่อการจับ
น้ำหนัก 400-440 กรัม
ความดันลม 0.67-070 กก.ต่อ ลบ.ซม. หรือ 9 1/2 - 10 ปอนด์ต่อ ลบ.นิ้ว



จำนวนผู้เล่น ( Number Of Player - The Team )

ทีม ( team ) ทีมหนึ่งจะมีผู้เล่น 15 คน ซึ่งลงเล่นในสนามรวมทั้งผู้เล่นสำรองเพื่อเปลี่ยนตัว
การเปลี่ยนตัว เมื่อผู้เล่นเกิดบาดเจ็บจะถูกเปลี่ยนตัวโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
ผู้เล่นสำรอง คือผู้เล่นี่เปลี่ยนลงไปแทนผู้เล่นในสนามตามกติกา
จำนวนผู้เล่นในสนามมากที่สุด : ไม่เกิน 15 คน
เมื่อมีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คน อนุญาติให้มีผู้เล่นน้อยกว่า 15 คนได้แต่จะต้องมีผู้เล่นในสกรัมไม่น้อยกว่า 5 คนตลอดเกม
การเปลี่ยนตัวถาวร ผู้เล่นที่บาดเจ็บสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองลงไปเล่นชั่วคราวได้แต่ถ้าเปลี่ยนตัวถาวรแล้วจะกลับลงไปเล่นอีกไม่ได้ การเปลี่ยนตัวชั่วคราวในกรณีผู้เล่นบาดเจ็บจะเปลี่ยนลงไปได้เมื่อเกิดลูกตาย และผู้ตัดสินอนุญาติ

การเปลี่ยนตัวชั่วคราว
ก. เมื่อผู้เล่นบาดเจ็บมีเลือดออก หรือมีแผลเป็นต้องออกมาปฐมพยาบาลกรณีนี้สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่น
     ลงไปเล่นชั่วคราวได้โดยไม่นับจำนวนครั้ง หรือผู้เล่นที่เปลี่ยนตัว
ข. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวบาดเจ็บ ก็สามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้อีก
ค. ถ้าผู้เล่นที่เปลี่ยนลงไปชั่วคราวทำผิดกติกาจนถูกให้ออกจากสนามผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนไม่สามารถกลับลงมาเล่นได้


เครื่องแต่งกาย ( Player''s Clothing )

เครื่องแต่งกายของผู้เล่น คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้เล่นสวมใส่ เสื้อ กางเกงขาสั้นและกางเกงชั้นในและถุงเท้า เครื่องแต่งกายเพิ่มเติมของผู้เล่น
ก. ผู้เล่นอาจจะสวมวัสดุที่ยิดหยุ่นและสามารถทำความสะอาดได้
ข. ผู้เล่นอาจจะสวมใส่เครื่องป้องกันหน้าแข้ง ภายในถุงเท้า
ค. ผู้เล่นอาจจะใส่สนับข้อเท้าภายในถุงเท้า ซึ่งไม่ยาวเกิน 1 ส่วน 3 ของความยาวของหน้าแข้ง
ง. ผู้เล่นอาจจะสวมถุงมือ ชนิดไม่มีนิ้ว
จ. ผู้เล่นอาจจะสวมที่รองไหล่ที่ทำด้วยวัสดุที่นุ่มและบาง ซึ่งอาจจะเน้นติดกับเสื้อ ซึ่งไม่หนาเกิน 1 ซม.
ฉ. ผู้เล่นอาจจะใส่ฟันยาง
ช. ผู้เล่นอาจจะสวมเครื่องป้องกันศรีษะ ที่ทำจากวัสดุนุ่มและบาง
ซ. ผู้เล่นอาจจะใช้ผ้าพันแผลเพื่อปิดแผลได้
ฌ. ผู้เล่นอาจจะพันผ้าเทปหรือวัสดุอื่น เพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้



ปุ่มรองเท้า
ก. ปุ่มรองเท้าต้องเป็นไปตามมาตรฐาน British Standard BS6366 1983 หรือมาตรฐานเทียบเท่า
ข. ปุ่มรองเท้าต้องเป็นรูปทรงกลม และติดแน่นที่พื้นรองเท้า
ค. ปุ่มของรองเท้าต้องมีขนาดดังนี้ ไม่ยาวเกิน 18 มม. วัดจากพื้น เส้นผ่าศูนย์กลางปลายปุ่มอย่างน้อย 10 มม.เส้นผ่า      ศูนย์กลางของฐานปุ่มอย่างน้อย 13 มม. เส้นผ่าศูนย์กลางของวงแหวนสวมเกลียวของปุ่มอย่างน้อย 20 มม
ง. พื้นรองเท้าที่มีหลายปุ่มใช้ได้ แต่ต้องไม่แหลม


เวลา ( Time )

เวลาของการแข่งขัน ( Duration of a Math )
ในการแข่งขันแต่ละแมทช์ จะต้องไม่เกิน 80 นาที บวกกับเวลาที่เสียไป เวลาพิเศษ และสถานการณ์พิเศษ
แต่ละแมทช์ จะแข่งเป็น 2 ครึ่ง แต่ละครึ่งไม่เกิน 40 นาที ในเวลาของการเล่น

ครึ่งเวลา ( Half Time )
หลังจากหมดครึ่งแรกแล้วจะเปลี่ยนข้าง มีเวลาพักไม่เกิน 10 นาที
เวลาพิเศษของการเล่น ( Playing extra Time )
ในการแข่งขันอาจจะใช้เวลามากกว่า 80 นาที ถ้าสมาคมได้กำหนดไว้ว่าเป็นเวลาพิเศษ ในการเล่นเสมอกัน
ในการแข่งขันแบบแพ้คัดออก


ประวัติผู้เขียน


ประวัติส่วนตัว

                          ชื่อ            นายรัฐศาสตร์   เศษบุปผา
                          ชื่อเล่น      เตียวสึ
                          เกิดเมื่อ    18 มกราคม 2538  อายุ 21 ปี
                          ภูมิลำเนา  บ้านผำใหญ่ ตำบล เมืองสรวง อำเภอ เมืองสรวง จังหวัด ร้อยเอ็ด
                       
                   ปัจจุบันกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาพลศึกษา
คณะครุศาสตร์ และเป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลของมหาวิทยาลัย จึงเกิดความสนใจให้ศึกษาเกี่ยวกับ
กีฬารักบี้ฟุตบอล และเขียนบล็อคอื่นๆ เกี่ยวกับกีฬารักบี้เพื่อเป็นการเผยแพร่กีฬาชนิดนี้ออกไป ซึ่ง
ปัจจุบันกีฬารักบี้เป็นกีฬาที่น้อยคนนักที่จะรู้จักเมื่อพูดถึง









วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559

นักกีฬาที่เป็นแรงบันดาลใจ









โรงเรียนบ้านบาก รักบี้ฟุตบอล จากบ้านนอกสู่เมืองกรุงฯ ชิงแชมป์กับ ภปร.

สามารถติดตามเรื่องราวของน้องๆ เพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ






ประวัติความเป็นมาของกีฬา "รักบี้ฟุตบอล"

        รักบี้ฟุตบอลเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2366 ที่ประเทศอังกฤษ โดยนายวิลเลี่ยม เอบบ์ เอลลิสเป็นคนแรกที่เริ่มต้นขึ้นในขณะกำลังเล่นฟุตบอลที่โรงเรียนรักบี้ (Rugby School) เขาก้มลงหยิบลูกฟุตบอลและพาวิ่งไป อันเป็นทักษะเบื้องต้นที่ต่อมาได้นำไปปรับปรุงจนเป็นกีฬารักบี้ฟุตบอลในที่สุด

         รักบี้ฟุตบอล เป็นกีฬาที่ทรงคุณค่า สร้างการทำงานเป็นทีมความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ปลูกฝังความทรหดอดทน และสร้างจิตวิญญาณวิญญาณของความเป็นนักกีฬาโดยสมบูรณ์หนึ่งทีมประกอบด้วยผู้เล่น 15 คน หรือ 7 คน เล่นกันอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมภายใต้กติกาที่กำหนดและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา โดยมีผู้เล่นที่อยู่ในสนามจะต้องไม่ล้ำหน้า และสามารถเล่นได้โดยการถือลูกวิ่ง ส่งลูกไปข้างหลังเตะลุก จับคู่ต่อสู้ แย่งลูก เก็บลูก ทำสกรัม รักมอล แถวทุ่ม และนำลูกไปวางหรือกดในเขตประตูฝ่ายตรงข้าม เพื่อทำคะแนนให้ได้มากที่สุด ทีมที่ทำคะแนนได้มากกว่าจะเป็นทีมชนะการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ครึ่ง แต่ละครึ่งไม่เกิน 40 นาที

ประวัติรักบี้ฟุตบอลในประเทศไทย
           - พ.ศ. 2478 มีทีมรักบี้ที่เป็นทางการคือทีม England, Scotland และ The Rest ซึ่งเป็นทีมของคนไทย
           - พ.ศ. 2481 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) และเอกอัคราชทูตอังกฤษ ก่อตั้งสมาคมรักบี้ฟุตบอลที่
              ราชกรีฑาสโมสร
           - พ.ศ. 2493 ได้รับให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์